วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กังหันนาเกลือ นวัตกรรมกังหันลมของไทย ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่างๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น เทคโนโลยีกังหันลม พลังงานลม เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า “ กังหันลม ” เป็นตัวสกัดกั้นพลังงานจลน์ของกระแสลม แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ เช่น สูบน้ำ หรือใช้ผลิตไฟฟ้า เป็นต้น กังหันลมที่ใช้กันมากในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ กังหันลมแบบใบกังหันไม้ ใช้สำหรับวิดน้ำเข้านาข้าวบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา กังหันใบเสื่อลำแพนใช้วิดน้ำเค็มเข้านาเกลือบริเวณจังหวัดสมุทรสงคราม และกังหันลมแบบใบกังหันหลายใบทำด้วยแผ่นเหล็กใช้สำหรับสูบน้ำลึก เช่น น้ำบาดาล น้ำบ่อ ขึ้นไปเก็บในถังกักเก็บ กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือในปัจจุบันใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อใช้ประโยชน์มีมาตั้งแต่ชนชาวอียิปต์โบราณและมีความต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลมจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านพลศาสตร์ของลมและหลักวิศวกรรมศาสตร์ในแขนงต่างๆ เพื่อให้ได้กำลังงาน พลังงาน และประสิทธิภาพสูงสุด ชนิดของกังหันลม การจำแนกชนิดของกังหันลม มี 2 วิธี กล่าวคือ 1.การจำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหัน จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ กังหันลมที่มีแกนหมุนในแนวแกนนอน และกังหันลมที่มีแกนหมุนใน แกนแนวตั้ง 2.การจำแนกตามลักษณะแรงขับที่กระแสลมกระทำต่อใบกังหัน มี 2 แบบ คือ การขับด้วยแรงยก (Lift force) และ การขับด้วยแรงฉุดหรือแรงหน่วง (Drag force) กังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำของคนไทยโบราณ การใช้พลังงานลมเพื่อฉุดน้ำจากที่ต่ำมาใช้ในพื้นที่สูงในประเทศไทยนั้น ได้มีการใช้มาเป็นเวลานานแล้วและยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน พบเห็นได้จากการใช้กังหันลมฉุดน้ำเพื่อทำนาเกลือ กังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านใน สมัยโบราณของไทย เพื่อใช้ในนาข้าว นาเกลือและนากุ้ง เช่นเดียวกันกับการประดิษฐ์กังหันลมวินด์มิลล์ (Windmills) เพื่อฉุดน้ำและใช้แรงกลช่วยในการแปรผลิตผลทางการเกษตรของชาวยุโรป วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์กังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำ เป็นวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูกและมีความเหมาะสมต่อการใช้งานตามสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ ใบพัดกังหันลมปกติจะมีจำนวน6 ใบพัด วัสดุที่ใช้ทำใบกังหันลมจะทำมาจากเสื่อลำแพนหรือผ้าใบ โดยตัวโครงเสา รางน้ำ และใบระหัด จะทำจากไม้เนื้อแข็งซึ่งมีความทนทานต่อน้ำเค็ม สามารถใช้งานได้ยาวนาน กังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำใช้ความเร็วลมตั้งแต่ 2.5 เมตร/วินาที ขึ้นไปในการหมุนใบพัดกังหันลม หากมีลมแรงมากไปก็สามารถปรับม้วนใบเก็บให้เหลือสำหรับรับแรงลมเพียง 3 ใบ เพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน เมื่อไม่ต้องการใช้งานก็ม้วนใบเก็บทั้ง 6 ใบ ส่วนประกอบที่สำคัญของกังหันลมแบบระหัดฉุดน้ำ 1.ส่วนของใบพัด ก้านใบทำจากไม้ยึดติดกับแกนหมุน ใบรับลมทำจากเสื่อลำแพนหรือผ้าใบ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แผ่นพลาสติก มีจำนวน 6 ใบ แกนหมุนตั้งในแนวนอนอยู่บนเสาไม้ 2.เสาของกังหันลม ทำจากไม้จำนวน 2 ต้น ปักไว้เป็นคู่เพื่อรองรับแกนหมุน 3.สายพานขับแกนเพลา ทำจากเชือกที่มีความเหนียวและทนต่อแรงเสียดสี ทำหน้าที่ถ่ายแรงจากการหมุนของแกนหมุนไปยังแกนเพลาให้หมุนตามเพื่อใช้ฉุดระ หัดไม 4.แกนเพลา ทำจากเหล็กหรือไม้กลม วางอยู่บนเสาไม้คู่เหนือพื้นดินที่พอเหมาะ มีซี่ไม้ลักษณะคล้ายเฟืองยึดติดกลางแกนเพลาเพื่อขับหมุนฉุดแผ่นระหัด 5.ส่วนของรางน้ำและระหัด ทำจากไม้ ลักษณะรางน้ำเป็นกล่องรางไม้ตัวยู (u) หงายขึ้น พาดเฉียงระหว่างท้องน้ำกับพื้นนาเกลือแล้วใช้ไม้แผ่นขนาดเท่าหน้าตัด ของกล่องรางน้ำทำระหัดเรียงต่อกันเป็นซี่ๆ ด้วยเชือกหรือโซ่ห่างกันพอประมาณเพื่อกักเก็บและฉุดน้ำเคลื่อนตัวจากที่ต่ำ ขึ้นที่สูง

เคล็ดลับผิวสวยด้วยการขัดผิวด้วยเกลือ


โดยปกติแล้วการขัดผิวเป็นประจำจะช่วยทำให้ผิวของคุณดูขาว กระจ่างใส สะอาด แลดูมีสุขภาพดีและช่วยสร้างคอลลาเจนใหม่ในผิวได้เป็นอย่างดี สำหรับเคล็ดลับอื่นๆในการช่วยขัดเซลล์ผิวเก่าและผิวหมองคล้ำของคุณได้แก่ การลอกผิวด้วยสารเคมีซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขัดผิวที่มีส่วนผสมของสาร Retinoid Retin, การรักษาด้วย Microdermabrasion ซึ่งวิธีขัดผิวแบบนี้มักจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความงามหรือแพทย์ผิวหนังและการผลัดเซลล์ผิวด้วยเครื่องฟอกขัดผิวอย่างอ่อนโยน
วิธีการขัดผิวด้วยวิธีเหล่านี้เริ่มต้นจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านความงามจะใช้ผงองุ่น มะกอกหรือผลแอฟฟริคอตเป็นตัวช่วยของสารขัดถูผิว ระยะเวลาในการทำการผลัดเซลล์ผิวด้วยการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้จะต้องไม่ทำติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์ซึ่งเป็นเวลาที่ผิวจะต้องใช้เวลาในการสร้างเซลล์ผิวขึ้นมาใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามกล่าวไว้ว่าคุณสามารถยืดเวลาความอ่อนเยาว์ของผิวได้นานขึ้นถ้าหากว่าคุณเพียงแค่มีการผลัดเซลล์ผิวตามปกติเป็นประจำ

ข้อมูลเกียวกับโซเดียมคลอไรด์

โซเดียมคลอไรด์ จะเกิด ผลึก แบบคิวบิก สมมาตรในโครงสร้างเหล่านี้ ไอออน คลอไรด์ซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกจัดเรียงในคิวบิก โคลส-แพคกิ่ง ในขณะที่โซเดียมไอออนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าจะถูกบรรจุในช่องว่าง ออกต้าฮีดรัลระหว่างพวกมัน แต่ละไอออนจะถูกแวดล้อมด้วยไอออนชนิดอื่น 6 ตัว นี่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเดียวกันกับที่พบในแร่อื่นหลายชนิดและรู้จักกันในชื่อ โครงสร้าง ไฮย์ไลต์ ความสำคัญทางชีววิทยา[แก้]โซเดียมคลอไรด์ มีความสำคัญต่อ สิ่งมีชีวิตบนโลกในเนื้อเยื้อชีวภาพ และของเหลวในร่างกาย จะมีเกลือในปริมาณที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นของ โซเดียม ไอออนใน เลือด เป็นความสัมพันธ์โดยตรงต่อการควบคุมระดับที่ปลอดภัยของของเหลวในร่างกาย การแพร่กระจายของ การกระตุ้นประสาท โดยซิกนัล ทรานสดักชัน (signal transduction) ถูกควบคุมโดยโซเดียม ไอออน (โพแทสเซียม เป็น โลหะ ที่มีความสัมพนธ์ใกล้ชิดกับโซเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในระบบร่างกายเช่นกัน) 0.9% โซเดียมคลอไรด์ ใน น้ำ ถูกเรียกว่า สารละลายทางสรีรวิทยา (physiological solution) หรือ นอร์มัล ซาไลน์ (normal saline) เพราะมันเป็นความเข้มข้นเดียว (isotonic) กับ พลาสมาในเลือด นอร์มัล ซาไลน์ ใช้ในทาง การแพทย์เพื่อทดแทนการสูญเสียของเหลวจากร่างกายและการรักษาแบบนี้ว่า การให้ของเหลวทดแทน (fluid replacement) ซึ่งใช้แพร่หลายทาง การแพทย์ เพื่อป้องกันการ ขาดน้ำ (dehydration) หรือ อินทราวีนัสเทอราปี (intravenous therapy) เพื่อป้องกัน การช๊อค จาก ปริมาตรเลือดต่ำ สาเหตุจากการ สูญเสียเลือด มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์ ไพรเมต ด้วยกันที่สามารถกำจัดเกลือจำนวนมากได้ทาง เหงื่อ (sweating) การผลิตและการใช้[แก้] Jordanian and Israeli salt evaporation ponds at the south end of the Dead Seaปัจจุบันเกลือถูกผลิตโดย การระเหย ของ น้ำทะเล หรือ น้ำเค็ม (brine) จากแหล่งอื่นๆ เช่น บ่อน้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม (salt lake) และการทำเหมืองเกลือที่เรียกว่า ร็อกซอลต์ (rock salt หรือ ฮาไลต์) ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากคุ้นเคยกับการใช้เกลือ ปรุงอาหาร แต่พวกเขาอาจไม่รู้ว่าเกลือใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ใช้ในการผลิตกระดาษ ใช้ในหมึกพิมพ์ผ้าในอุตสาหกรรมเท็กไทล์ ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต สบู่และผงซักฟอก ใช้ในการละลายน้ำแข็งที่เกาะบนพื้นถนน ใน แคนาดาและสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูหนาวที่อุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต คลอรีน พีวีซี และยาฆ่าแมลง



วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่

-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้

1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ



ภาพ สมาคมอาเซียน

ประวัติของเกลือ



          ประวัติศาสตร์ของ “เกลือ” มีความสำคัญไม่น้อยกว่าประวัติศาสตร์ ไหมไทย จนมีคำกล่าวเทียบเคียงเส้นทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางธุรกิจสายแรกของ ยุโรป เนื่องจากเกลือเป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น โซเดียมกับคลอรีน ร่างกายต้องการเกลือเพื่อรักษาสมดุลและความดันโลหิต ในสมัยเกลือในยุโรปสามารถแลกกับ เพชรนิลจินดา ทองคำได้  ชาวโรมันใช้เกลือจ่ายเป็นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้าง  และชาวจีน ขุนนางจีนโบราณ สามารถใช้เกลือนำไปสู่การขึ้นตำแหน่ง ที่สามารถควบคุมการผลิต และการค้าได้

รูปที่ 1 แปลงนาเกลือ หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลูโล๊ะ
          ปัตตานีเป็นจังหวัดเดียวของภาคใต้ที่มีการทำนาเกลือ มายาวนานกว่าประมาณ 400 ปี  กล่าว คือในสมัยราชินีฮีเยา เป็นเจ้าเมืองปัตตานี (พ.ศ.2127-2159) กิจกรรมทำนาเกลือที่ปัตตานีเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ และเป็นนาเกลือเพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรมลายู นับตั้งแต่คอคอดกระ ลงไปจนสุดปลายแหลม
          ในระยะ 100 ปี ที่ผ่านมา เกลือเป็นสินค้าสำคัญของเมืองปัตตานี ดังที่ปรากฏในบันทึก (หนังสือ มัสยิดกรือเซะ มรดกอารยธรรมปัตตานี) ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่รายงานทูลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จประพาสเมืองปัตตานีเมื่อปี พ.ศ.2439 ตอนหนึ่งว่า
          “ภูมิลำเนาของเมืองทั้งเจ็ด ซึ่งข้าพเจ้าได้ไปเห็นแลได้สืบสวนเมืองที่บริบูรณ์อย่างประหลาด จะหาเมืองมลายูเมืองใดเปรียบได้เสมอเป็นอันไม่มี เมืองตานีมีเกลืออย่างเดียว ตลอดแหลมมลายู สินค้าเกลือเมืองตานีขายได้อย่างแพงเกวียนละ 16 เหรียญ”


รูปที่ 2 ท่าเทียบเรือสำเภารับซื้อเกลือในอดีต
          จากเอกสารหลักฐาน (วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 27 “เรื่องเล่าจากชุมชน คนทำเกลือที่ปัตตานี” นราวดี โสหะจินดา) ที่กล่าวถึงการทำนาเกลือปรากฏอีกครั้ง ในสมัยการปกครองเมืองปัตตานี ของรายาฮิเยา (พ.ศ. 2127-2159) สืบเนื่องจากน้ำในคลองกรือเซะมีความเค็ม ทำให้ราษฎรที่ทำนาข้าวบริเวณต้นน้ำเหนือลำคลองทำนาไม่ได้ผล รายาฮิเยารับสั่งให้ราษฎร พร้อมใจกันขุดคลองเชื่อมกับแม่น้ำเป็นผลให้น้ำจืดลง ราษฎรสามารถทำนาข้าวได้ แต่บริเวณปลายน้ำซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ของนาเกลือ เมื่อน้ำจืดทำให้ทำนาเกลือไม่ได้ผลจึงมีการแก้ไขอีกครั้งในสมัยรายาบีรู (พ.ศ. 2159-2167) โดยพระองค์มีพระบัญชาให้สร้างเขื่อนกั้นน้ำที่ไหลมาจากด้านเหนือ เพื่อป้องกันน้ำจืดรุกเข้ามาทางปลายน้ำ ราษฎรก็สามารถทำนาเกลือได้อีกครั้ง มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อเซอร์จอห์น เบาริ่ง เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรสยามและบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ในปี พ.ศ. 2398 เนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงเมืองปัตตานีว่า "ปัตตานีเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันในหมู่นักเดินเรือในสมัยโบราณ และเคยใช้เป็นสถานีการค้า ของต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับสยาม กัมพูชา และจีน...ข้าว เกลือ ทอง และดีบุก เป็นผลผลิตหลักของปัตตานี" (เซอร์จอห์น เบาริ่ง, 2547 : 65)

รูปที่ 3 สุสานราชินีฮีเยา
          ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2427 สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ เสด็จไปยังหัวเมืองทางภาคใต้ พระองค์ได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับการเสด็จครั้งนี้ไว้ ให้ชื่อว่าชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่างๆ ภาค 7 ในพระนิพนธ์ตอนเมืองสงขลา มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า "เรือค้าขายของคอเวอนเมนต์มีอยู่ลำหนึ่ง ชื่อเรือจำเริญสวัสดิ์เป็นเรือบ๊าก 2 เสาครึ่ง เวลานี้ไปบรรทุกเกลือเมืองตานี" (สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ, 2511 : 59) ในพระนิพนธ์เล่มเดียวกันนี้ ตอนเมืองตานี มีความว่า "พวกแขกทำนาเกลือ ทำสวน ทำนาข้าว...สินค้าใหญ่ที่ซื้อขายและจำหน่ายออก เกลือเป็นใหญ่...เกลือเกวียนแขก 1 เท่า 2 เกวียนไทย ราคา 12 เหรียญ" (สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ, 2511 : 59-71)
          ในปี พ.ศ. 2439 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ จากบันทึกรายงานทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความว่า "ภูมลำเนาของเมืองแขกทั้งเจ็ดซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้ไปเห็นแลได้สืบสวนทราบความในคราวนี้ เห็นเปนเมืองที่บริบูรณ์อย่างปลาด จะหาเมืองมะลายูเมืองใดในแหลมมะลายูนี้ เปรียบให้เสมอเหมือนเปนอันไม่มี... ในเมืองตานีมีนาเกลือแห่งเดียวตลอดแหลมมะลายู สินค้าเกลือเมืองตานีขายได้อย่างแพงถึงเกวียนละ 16 เหรียญ ขายตลอดออกไปจนสิงค์โปร์และเกาะหมาก..." (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2514 : 67) เกลือปัตตานีมีชื่อเสียง ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในด้านรสชาติที่กลมกล่อม ไม่เค็มเพียงอย่างเดียว ทำให้มีความแตกต่างกับเกลือจากแหล่งอื่น ผู้บริโภคที่ทราบข้อมูลนี้จะเลือกซื้อเกลือปัตตานี เมื่อใช้เกลือปัตตานีปรุงอาหาร ทำน้ำบูดู ทำปลาแห้ง ทำไอศกรีม ดองสะตอ หรือใช้ดองผักผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะดองสะตอนั้น หากใช้เกลือปัตตานีจะทำให้สะตอแห้ง ไม่เปื่อยยุ่ย มีรสชาติหวาน มัน อร่อย หรือที่มีชื่อเสียงที่เรียกกัน “ฆาแฆ ตานิง มานิส”(เกลือหวานอ่าวปัตตานี) ซึ่งมีความหมายที่มี รสชาติกลมกล่อม

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสมุนไพร

ขมิ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L.
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่อพ้อง Curcuma domestica Valeton Turmericล

ไพล
 ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb.
 วงศ์           ZINGIBERACEAE

แตงกวา
ชื่อสามัญ : Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis sativus Linn. 

มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L.
วงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Tamarind

                  
                                     ภาพ มะขาม                                                   ภาพ แตงกวา


                    
                                   ภาพ ไพล                                                        ภาพ ขมิ้น

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การผลิตเกลือจากน้ำทะเล



การผลิตเกลือจากน้ำทะเล
         โซเดียมคลอไรด์  มีชื่อสามัญว่า  เกลือแกง  หรือ เกลือหิน  สูตรทางเคมี คือ  NaCl   ถ้าผลิต
จากน้ำทะเล  จะเรียกว่า เกลือสมุทร  ถ้าผลิตจากดิน  จะเรียกว่าเกลือสินเธาว์
         จังหวัดที่มีการผลิตเกลือสมุทร  ได้แก่ สมุทรสงคราม  สมุทรปราการ  สมุทรสาคร  และชลบุรี
ผู้ผลิตเกลือสมุทร เรียกว่า ชาวนาเกลือ  การผลิตเกลือสมุทรแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน  คือ
             ขั้นที่ 1  การเตรียมพื้นที่นา  เริ่มด้วยการปรับดินให้เรียบและแน่น  แล้วแบ่งพื้นที่นาออกเป็นแปลง  แต่ละแปลงมีพื้นที่ประมาณ  1 ไร่   แต่ละแปลงยกขอบให้สูงเหมือนคันนาและมีร่องระบายน้ำ
ระหว่างแปลง  แล้วแบ่งพื้นที่นาออกเป็น 3 ตอน  เรียกว่า นาตาก นาเชื้อ และนาปลง
            ขั้นที่  2  การทำนาเกลือ
                1.  ก่อนถึงฤดูทำนาเกลือ  ( ฤดูทำนาเกลือ คือเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนพฤษภาคม ) ชาวนาจะ
ไขน้ำเข้าไปเก็บไว้ในวังขังน้ำ  เพื่อให้สิ่งเจือปนในน้ำ  เช่น โคลนตมตกตะกอนลงมาก่อน
                2.  เมื่อถึงฤดูทำนาเกลือ จึงระบายน้ำทะเลจากวังขังน้ำเข้าสู่นาตาก  โดยให้มีระดับน้ำในนาสูงประมาณ  5  เซนติเมตร  ปล่อยให้น้ำในนาตากระเหยไปบ้าง โดยอาศัยแสงแดดและกระแสลม  จนน้ำมี
ความถ่วงจำเพาะประมาณ  1.08
                3.  ระบายน้ำจากนาตากเข้าสู่นาเชื้อ  และปล่อยให้น้ำระเหยไปอีก  ซึ่งความถ่วงจำเพาะของน้ำ
จะเพิ่มขึ้น  ในขั้นนี้จะมีผลึกแคลเซียมซัลเฟตตกลงมาบ้าง  ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่นำไปขายได้  จากนั้นปล่อยให้น้ำระเหยไปจนมีความถ่วงจำเพาะประมาณ  1.20
                4.  ระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าสู่นาปลง ระยะเวลาตั้งแต่การระบายน้ำเข้าสู่นาตากจนถึงนาปลง
ประมาณ  45  วัน  หลังจากระบายน้ำเข้าสู่นาปลงประมาณ 2 วัน  ผลึกเกลือแกงจะตกลงมาและมีปริมาณ
มากขึ้นเรื่อยๆ    ในระหว่างนี้น้ำจะยังคงระเหยต่อไป ทำให้ความถ่วงจำเพาะของน้ำเพิ่มขึ้น จะทำให้ผลึก
แมกนีเซียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ตกลงมาด้วย
           โดยทั่วไป ชาวนาเกลือจะปล่อยให้เกลือแกงตกผลึกอยู่ในนาปลงประมาณ 9 10  วัน จึงขูดเกลือออก  เกลือแกงที่ได้จะมีผลผลิตประมาณ  49 ตันต่อไร่  หรือ 2.56 กิโลกรัมต่อพื้นที่นา 1 ตร.เมตร