วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การผลิตเกลือจากน้ำทะเล



การผลิตเกลือจากน้ำทะเล
         โซเดียมคลอไรด์  มีชื่อสามัญว่า  เกลือแกง  หรือ เกลือหิน  สูตรทางเคมี คือ  NaCl   ถ้าผลิต
จากน้ำทะเล  จะเรียกว่า เกลือสมุทร  ถ้าผลิตจากดิน  จะเรียกว่าเกลือสินเธาว์
         จังหวัดที่มีการผลิตเกลือสมุทร  ได้แก่ สมุทรสงคราม  สมุทรปราการ  สมุทรสาคร  และชลบุรี
ผู้ผลิตเกลือสมุทร เรียกว่า ชาวนาเกลือ  การผลิตเกลือสมุทรแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน  คือ
             ขั้นที่ 1  การเตรียมพื้นที่นา  เริ่มด้วยการปรับดินให้เรียบและแน่น  แล้วแบ่งพื้นที่นาออกเป็นแปลง  แต่ละแปลงมีพื้นที่ประมาณ  1 ไร่   แต่ละแปลงยกขอบให้สูงเหมือนคันนาและมีร่องระบายน้ำ
ระหว่างแปลง  แล้วแบ่งพื้นที่นาออกเป็น 3 ตอน  เรียกว่า นาตาก นาเชื้อ และนาปลง
            ขั้นที่  2  การทำนาเกลือ
                1.  ก่อนถึงฤดูทำนาเกลือ  ( ฤดูทำนาเกลือ คือเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนพฤษภาคม ) ชาวนาจะ
ไขน้ำเข้าไปเก็บไว้ในวังขังน้ำ  เพื่อให้สิ่งเจือปนในน้ำ  เช่น โคลนตมตกตะกอนลงมาก่อน
                2.  เมื่อถึงฤดูทำนาเกลือ จึงระบายน้ำทะเลจากวังขังน้ำเข้าสู่นาตาก  โดยให้มีระดับน้ำในนาสูงประมาณ  5  เซนติเมตร  ปล่อยให้น้ำในนาตากระเหยไปบ้าง โดยอาศัยแสงแดดและกระแสลม  จนน้ำมี
ความถ่วงจำเพาะประมาณ  1.08
                3.  ระบายน้ำจากนาตากเข้าสู่นาเชื้อ  และปล่อยให้น้ำระเหยไปอีก  ซึ่งความถ่วงจำเพาะของน้ำ
จะเพิ่มขึ้น  ในขั้นนี้จะมีผลึกแคลเซียมซัลเฟตตกลงมาบ้าง  ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่นำไปขายได้  จากนั้นปล่อยให้น้ำระเหยไปจนมีความถ่วงจำเพาะประมาณ  1.20
                4.  ระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าสู่นาปลง ระยะเวลาตั้งแต่การระบายน้ำเข้าสู่นาตากจนถึงนาปลง
ประมาณ  45  วัน  หลังจากระบายน้ำเข้าสู่นาปลงประมาณ 2 วัน  ผลึกเกลือแกงจะตกลงมาและมีปริมาณ
มากขึ้นเรื่อยๆ    ในระหว่างนี้น้ำจะยังคงระเหยต่อไป ทำให้ความถ่วงจำเพาะของน้ำเพิ่มขึ้น จะทำให้ผลึก
แมกนีเซียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ตกลงมาด้วย
           โดยทั่วไป ชาวนาเกลือจะปล่อยให้เกลือแกงตกผลึกอยู่ในนาปลงประมาณ 9 10  วัน จึงขูดเกลือออก  เกลือแกงที่ได้จะมีผลผลิตประมาณ  49 ตันต่อไร่  หรือ 2.56 กิโลกรัมต่อพื้นที่นา 1 ตร.เมตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น